สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงประกอบพิธี ปล่อยเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ลงน้ำ

     พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีปล่อยเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ ลงน้ำ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ในวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2562 เวลา 10.00 น. โดยมี พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จฯ

     สำหรับการดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 – 2561 แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการจัดหาเฉพาะระบบตัวเรือ จำนวน 1 ลำ ประกอบด้วยแบบและพัสดุในการสร้างเรือ พร้อมระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงรวมและการบริการทางด้านเทคนิค ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2558 – 2561 ระยะที่ 2 การจัดหาระบบควบคุมบังคับบัญชาและตรวจการณ์ และระบบอาวุธ ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.2559 – 2561 ดำเนินการสร้างเรือ ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช โดยการดำเนินงานทั้ง 2 ระยะ ได้ดำเนินการตามแผนเสร็จสิ้นแล้ว จึงกล่าวได้ว่า กองทัพเรือได้ใช้ศักยภาพ และความรู้ความสามารถของกำลังพลกองทัพเรือ ในการดำเนินการติดตั้ง ทดสอบ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ แม้ว่าจะใช้แบบเรือของต่างประเทศ แต่ถือเป็นการสร้างเรือขนาดใหญ่ด้วยการพึ่งพาตนเอง โดยอู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช นับได้ว่าเป็นอู่ซ่อมเรือที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถให้บริการซ่อมบำรุงเรือทุกขนาดที่กองทัพเรือมีประจำการ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมาคมความปลอดภัยทางน้ำ

     “คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล” คำพังเพยโบราณที่สะท้อนธรรมชาติของท้องทะเลโดยทั่วไป ซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง อาจเกิดการแปรเปลี่ยนสภาพแบบผลิกผันขึ้นเมื่อใดก็ได้ จากสภาพคลื่นสงบทะเลเรียบ กลายเป็นความปั่นป่วนจากพายุใหญ่ได้ในเวลาอันสั้น อาจก่อให้เกิดมหันตภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ชนิดตั้งรับแทบไม่ทัน ถ้าผู้เกี่ยวข้องขาดความรู้ความเข้าใจรวมทั้งการเตรียมการตั้งรับที่ดีพอ

     ด้วยตระหนักในความจริงดังกล่าวข้างต้น จึงเกิดการรวมตัวกันของผู้ที่ห่วงใยในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในทะเล รวมทั้งในแม่น้ำลำคลองโดยทั่วไปด้วย ซึ่งเท่าที่ผ่านมาได้เกิดความสูญเสียจากภัยพิบัติสารพัดแบบ สาเหตุหลักประการหนึ่งก็คือ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ขาดความรู้พื้นฐานในการป้องกันภัยล่วงหน้า รวมทั้งมาตรการในการแก้ไขเมื่อภัยมา สมาคมความปลอดภัยทางน้ำจึงได้ก่อกำเนิดขึ้น เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมี พลเรือเอก ไพโรจน์ แก่นสาร เป็นนายกสมาคม ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 1122 หมู่ที่ 6 ถ.ท้ายบ้าน ต.ท้ายบ้าน อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ

     สำหรับวัตถุประสงค์หลักของสมาคมพอสรุปได้ว่า เป็นองค์กรที่เผยแพร่ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ ทั้งในด้านการป้องกันและแก้ไข ร่วมงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ ตามโอกาสและศักยภาพที่มีอยู่ เป็นศูนย์รวมการศึกษาค้นคว้า และเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ ทั้งนี้ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของสมาคมไว้ ดังนี้

     “เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมและพัฒนา มาตรฐานองค์ความรู้ งานวิจัย และนวัตกรรม ด้านความปลอดภัยทางน้ำของไทยสู่ระดับสากล”

“ปลดระวาง เรือ ต.91 “เรือของพ่อ” หลังปฏิบัติภารกิจมาร่วม 52 ปี”

     วันที่ 26 ก.ย.62 พลเรือเอก นพดล สุภากร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ เป็นประธานในพิธีปลดระวางประจำการ และเชิดชูเกียรติให้กับ “เรือของพ่อ” เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.91 ,ต.94 ,ต.95 ที่รับใช้ราชการในกองทัพเรือมายาวนาน ปฏิบัติภารกิจในท้องทะเลมากว่า 52 ปี ณ ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

     เรือตรวจการณ์ ต.91 เป็นเรือที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการพระราชทานพระราชดำริ และพระบรมราชวินิจฉัย เกี่ยวกับการต่อเรือ เพื่อพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ นับตั้งแต่การสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.91 ถึงเรือ ต.99 จำนวน 9 ลำ ระหว่างปี พ.ศ.2510 – 2530 อันเป็นโครงการของกองทัพเรือ ตามพระราชดำริของพระองค์ จนสมัญญาเรือชุดนี้ว่า “เรือของพ่อ” การปลดระวางประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ได้เป็นไปตามอนุมัติ กระทรวงกลาโหม เนื่องจากเรือทั้ง 3 ลำ ใช้ราชการมานานจนมีสภาพเสื่อมตามอายุการใช้งาน ไม่คุ้มค่าต่อการซ่อมบำรุง และมีความเสี่ยงต่อการปฏิบัติราชการ จึงมีคำสั่งตามคำเสนอของ กองทัพเรือ ให้ปลดระวางตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.62 เป็นต้นไป โดยเรือ ต.91 ประจำการครั้งแรกเมื่อ 12 ส.ค.2511 และครั้งที่ 2 เมื่อ 15 เม.ย.35 รวมระยะเวลาประจำการ 52 ปี เรือ ต.94 ประจำการครั้งแรกเมื่อ 16 ก.ย.24 รวมระยะเวลาประจำการ 38 ปี และเรือ ต.95 ประจำการครั้งแรกเมื่อ 27 ธ.ค.25 รวมระยะเวลาประจำการ 37 ปี โดยเรือทั้ง 3 ลำ สร้างโดยกรมอู่ทหารเรือ เป็นการพึ่งพาตนเองของกองทัพเรือ

     ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ จึงได้จัดพิธีเชิดชูเกียรติให้แก่ เรือตรวจการณ์ชุดเรือ ต.91 และอำลาการปฏิบัติงานของเรือทั้ง 3 ลำ อย่างสมเกียรติ ให้คงเป็นที่จารึกจดจำแด่ เหล่านักรบแห่งราชนาวีไทย ตลอดไป

โอเชี่ยน มารีน่า ทุ่มจัดงาน “โอเชี่ยน มารีน่า พัทยา โบ้ท โชว์” กระตุ้นเศรษฐกิจโตต่อเนื่อง

      โอเชี่ยน พรอพเพอร์ตี้ เตรียมจัด “โอเชี่ยน มารีน่า พัทยา โบ้ท โชว์” งานแสดงเรือยอช์ทนานาชาติระดับเอเชีย ซึ่งมีการจัดโชว์เรือยอช์ทชั้นนำระดับโลกและสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เกี่ยวข้องกับการล่องเรือ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 ระหว่าง 21-24 พฤศจิกายน 2562 นี้ ณ โอเชี่ยน มารีน่า ยอช์ท คลับ พัทยา ท่าจอดเรือที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หวังกระตุ้นธุรกิจและตลาดท่องเที่ยวทางทะเลและตอบรับกระแสความนิยมล่องเรือยอช์ทที่เติบโตสูงขึ้น

     ในปีที่ผ่านมา งานโอเชี่ยน มารีน่า พัทยา โบ้ท โชว์ ได้ช่วยกระตุ้นอุตสหกรรมการท่องเที่ยวทางทะเลกว่า 2,500 ล้านบาท แม้ว่าปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจไทยอาจมีการชะลอตัวเพราะภาวะผันผวนจากเศรษฐกิจโลก แต่ในส่วนของปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ของไทยยังคงแข็งแกร่ง และการท่องเที่ยวทางทะเลบริเวณภาคตะวันออกของไทยมีโอกาสเติบโตได้อีกมากและมีส่วนสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้เติบโตสูงขึ้นได้

     โอเชี่ยน มารีน่า พัทยา โบ้ท โชว์ ในปีนี้มีการจัดแสดงเรือยอช์ทแบรนด์ชั้นนำจากทั่วโลกกว่า 40 ลำ พร้อมด้วยการจัดแสดงสินค้าและการบริการด้านไลฟ์สไตล์และการท่องเที่ยวทางทะเล สินค้าเทคโนโลยี อสังหาริมทรัพย์ระดับพรีเมี่ยม รถยนต์หรู และอีกมากมาย นอกจากนั้น ยังมีการสาธิตกีฬาทางน้ำ ตลอดการจัดงานทั้ง 4 วัน รวมถึงกิจกรรมประสบการณ์ล่องเรือยอช์ทฟรี บริการล่องเรือชมพระอาทิตย์ตกดิน (sunset cruises), แฟชั่นโชว์ และพบกับป๊อบอัพร้านอาหารชั้นนำ บริการอาหารและเครื่องดื่มตลอดงาน พร้อมด้วยกิจกรรมพิเศษสำหรับครอบครัว

     งานโอเชี่ยน มารีน่า พัทยา โบ้ท โชว์ ครั้งที่ 8 เตรียมจัดขึ้นระหว่าง 21-24 พฤศจิกายน 2562 นี้ ณ โอเชี่ยน มารีน่า ยอช์ท คลับ พัทยา จ. ชลบุรี ผู้สนใจเข้าร่วมชมงานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม www.oceanmarinapattayaboatshow.com

เรือด่วนเจ้าพระยาใหม่ ใหญ่ขึ้น เร็วขึ้น สะดวกสบายขึ้น

     โดยเรือแบบใหม่นี้เป็นเรือแบบ Catamaran ท้องเรือจะโปร่ง วัสดุตัวเรือทำด้วยอะลูมิเนียม มีการออกแบบที่ก่อให้เกิดคลื่นน้อย และประหยัดพลังงาน มีความสะดวกสบายและทันสมัย มีความปลอดภัย มีระบบติดตามเรือ (GPS) และระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในเบื้องต้น บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยาจะสร้างเรือจำนวน 6 ลำ เพื่อให้บริการตั้งแต่ท่าเรือพระนั่งเกล้า ถึงท่าเรือสาทร ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจำนวน 10 ท่าเรือ ซึ่งเป็นท่าเรือมีระบบขนส่งเชื่อมต่อทางราง เช่น ท่าเรือพระนั่งเกล้า (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) ท่าเรือบางโพ (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) ท่าเรือราชินี (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) และท่าเรือสาทร (รถไฟฟ้าสายสีเขียว) ซึ่งระยะเวลาเรือโดยสารรูปแบบใหม่จะให้บริการเดินเรือตั้งแต่เวลา 06.30 – 19.00 น. จำนวน 44 เที่ยว/วัน ความถี่ในการเดินเรือประมาณ 20-30 นาที /เที่ยว ซึ่งสามารถประหยัดเวลาเดินทางจากท่าเรือต้นทางถึงท่าเรือปลายทาง จากปกติใช้เวลาประมาณ 45 นาที โดยมีแผนจะเปิดให้บริการในเส้นทางปกติภายในปี 2562 นี้

พิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่จำนวน 2 ลำ

     วันที่14 พฤศจิกายน 2562 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง จำนวน 2 ลำ ณ บริษัท มาร์ซัน จำกัด ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี พลเรือเอก วศินสรรพ์ จันทวรินทร์ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ให้การต้อนรับ โดยในเวลา 09.49 น. ผู้บัญชาการทหารเรือในฐานะประธานในพิธีได้กดปุ่มไฟฟ้าประสานกระดูกงูเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่

     คุณลักษณะที่สำคัญของเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่ มีความยาวตลอดลำ 41.45 เมตร ความกว้างสูงสุดของเรือ 7.2 เมตร ความลึกของเรือ 3.8 เมตร ระยะกินน้ำลึกตัวเรือ 2.0 เมตร ความเร็วสูงสุดต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 28 นอต กำลังพลประจำเรือ 33 นาย เครื่องจักรใหญ่ตราอักษร MAN กำลังเครื่องยนต์ 2960 KW ที่ 1900 rpm พร้อมเพลาใบจักรตราอักษร WARTSILA จำนวน 2 ชุด เครื่องไฟฟ้าขนาด 150 KW 380 VAC จำนวน 2 ชุด เกียร์ส่งกำลัง ตราอักษร ZF รุ่น 9055 จำนวน 2 ชุด มีการจัดแบ่งที่พักอาศัยสำหรับกำลังพลตามอัตรา 33 นาย เสบียงอาหาร และน้ำจืดเพียงพอสามารถปฏิบัติงานในทะเลได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยไม่ต้องรับการส่งบำรุง ระยะปฏิบัติการไม่น้อยกว่า 1,500 ไมล์ทะเล ด้วยความเร็วเดินทางมัธยัสถ์ที่ระวางขับเต็มที่

มารีนไทย กรุ๊ป ร่วมพิธีแสดงเจตจำนงในการลงนาม

     วันจันทร์ ที่ 13 มกราคม 2563 บริษัท มารีนไทย กรุ๊ป จำกัด ร่วมพิธีแสดงเจตจำนงในการลงนามในสัญญาจ้างบริหารจัดการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะเวลา 10 ปี
(ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2573) มูลค่า 910,000,000 บาท โดย นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ นายไชยากร วัฒน์ประกายรัตน์ กรรมการบริษัท มารีนไทย กรุ๊ป จำกัด ในการนี้ นายวิฑูรย์ อยู่ทิม รองผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พลเรือเอก วีระยุทธ อุตตะโมท ประธานบริษัท มารีนไทย กรุ๊ป จำกัด นายวิชัย วัฒน์ประกายรัตน์ ประธานผู้บริหาร คุณวสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์ นายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัย อาคาร และผู้บริหารจากทั้ง 2 องค์กร ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม ณ ห้องประชุม 205 สำนักงานใหญ่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถนนนิคมมักกะสัน เเขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

เรือด่วนเจ้าพระยาโฉมใหม่ปรับอากาศ 2 ชั้น พร้อมวิ่งบริการ 1 เม.ย. 63

     วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 บริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด ร่วมกิจกรรมโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่ประกาศเขตกองทุนพัฒนา ไฟฟ้าแบบมีส่วนร่วม โดย ว่าที่ร้อยตรี พิรุณ เหมะรักษ์ รองผู้ว่า ราชการจังหวัดระยอง เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง พร้อมด้วยนายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ตัวแทนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และประธานชุมชน ร่วมวางปะการังเทียม เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติให้ตัวอ่อนปะการังมายึดเกาะเจริญเติบโต พัฒนาเป็นแนวปะการังธรรมชาติในที่สุด และป้องกันการบุกรุกทำลาย จากการลักลอบทำการประมงในพื้นที่เขตอนุรักษ์ ณ บริเวณอ่าวพยูน-พลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

     นอกจากนี้ ในระหว่างการล่องเรือทัศนศึกษาทางน้ำ ทางบริษัทฯ ยังจัดผู้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่สำคัญและเรื่องน่ารู้ต่างๆ ที่อยู่สองฟากฝั่งตามเส้นทางที่เรือแล่นผ่านไป ช่วยให้ได้รับทั้งสาระและความเพลิดเพลินไปพร้อมๆ กัน

เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) ร่วม โครงการจัดทำปะการังเทียมเพื่อสร้างความสมบูรณ์ของนิเวศในทะเล

     วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 บริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด ร่วมกิจกรรมโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง พื้นที่ประกาศเขตกองทุนพัฒนา ไฟฟ้าแบบมีส่วนร่วม โดย ว่าที่ร้อยตรี พิรุณ เหมะรักษ์ รองผู้ว่า ราชการจังหวัดระยอง เป็นตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง พร้อมด้วยนายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 ตัวแทนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และประธานชุมชน ร่วมวางปะการังเทียม เพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติให้ตัวอ่อนปะการังมายึดเกาะเจริญเติบโต พัฒนาเป็นแนวปะการังธรรมชาติในที่สุด และป้องกันการบุกรุกทำลาย จากการลักลอบทำการประมงในพื้นที่เขตอนุรักษ์ ณ บริเวณอ่าวพยูน-พลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

     โครงการจัดทำปะการังเทียมเพื่อสร้างความสมบูรณ์ของนิเวศในทะเลนี้ ดำเนินการโดยสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งที่ 1 ว่าจ้างและดำเนินการโดยบริษัท เอ. แอนด์ มารีน (ไทย) จำกัด เป็นผู้จัดทำปะการังเทียม วัสดุเป็นแท่งสี่เหลี่ยม จัดวางโดยใช้เครนชักหย่อนลงในน้ำ จนถึงพื้นท้องทะเลจนเป็นที่เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ONE MAN AND THE SEA กิจกรรมว่ายน้ำข้ามทะเลจากดอนสัก ไปเกาะสมุย

      เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 63 ท่าเรือเอนกประสงค์แหลมทวดดอนสัก อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อม นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิด และปล่อยตัว นายภาคิน คำวิลัยศักดิ์ (โตโน่) นักร้องนักแสดง ในฐานะทูตแห่งมหาสมุทรเพื่อความยั่งยืนแห่งภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ขององค์การสหประชาชาติเพื่อมหาสมุทร(UN Ocean Conference) พร้อมทีมว่ายน้ำ 7 คน ออกปฎิบัติภารกิจโครงการ “1 คนว่าย หลายคนช่วย ” (One Man & The Sea ) ว่ายน้ำตัวเปล่าข้าม 12 เกาะ จากฝั่ง อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี ไป ยัง อ.เกาะสมุย ระยะทาง 82 กิโลเมตร ระหว่างวันที่ 19 มีนาคม – วันที่ 5 เมษายน 2563 ระยะเวลา 18 วัน เพื่อปลุกจิตสำนึกคนไทยให้ใส่ใจเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมในทะเล ลดการใช้พลาสติกโดยเฉพาะขยะทะเล ตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศทางทะเล และระดมทุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่ ศูนย์รักษาพันธุ์สัตว์ทะเลหายากของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน