กองทัพเรือจัดงานรำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ปีที่ 127

วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีสดุดีวีรชนในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ณ บริเวณลานหน้า พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ป้อมพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

สำหรับ เหตุการณ์ ร.ศ.112 ตรงกับปีพุทธศักราช 2436 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในช่วงนั้นชาติตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลสำคัญทางแถบเอเชีย โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญ คือการแสวงหาอาณานิคม ประเทศต่าง ๆ เช่น ญวน เขมร ลาว ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนพม่าและมลายูตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ สำหรับประเทศไทย ได้ถูกชาติมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสเข้ามารุกราน

โดยในวันที่ 13 กรกฎาคม พุทธศักราช 2436 เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ คือเรือสลุปแองคองสตังค์ และเรือปืนโคแมต ได้รุกล้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายังกรุงเทพฯ และได้เกิดการปะทะกับฝ่ายไทย ทั้งหมู่ปืนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า และเรือรบไทยที่จอดอยู่เหนือป้อมพระจุลจอมเกล้า จำนวน 9 ลำ ผลปรากฏว่า เรือแองคองสตังต์ และเรือโคแมต ที่ได้รับความเสียหายบางส่วน สามารถตีฝ่าแนวป้องกันที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาได้จนถึงกรุงเทพฯ และเทียบท่าอยู่ที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส โดยมีทหารประจำเรือเสียชีวิตรวม 3 นาย และเรือนำร่องถูกยิงเกยตื้นอยู่ริมฝั่ง ส่วนฝ่ายไทยเรือที่ได้รับความเสียหายจากกระสุนปืนใหญ่จากฝ่ายตรงข้าม จำนวน 4 ลำ

ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวไทยกับฝรั่งเศสก็ได้ยุติการสู้รบกันเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และเป็นเหตุให้ไทยเราต้องเสียดินแดนแก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก โดยที่ไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการดำรงไว้ซึ่งเอกราช ประกอบด้วยดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อันได้แก่ ประเทศลาวปัจจุบัน ในพื้นที่เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทน์ และอาณาเขตนครจำปาศักดิ์ตะวันออก ตลอดจนบรรดาเกาะแก่งต่าง ๆ ในแม่น้ำโขง คิดเป็นพื้นที่ 143,000 ตารางกิโลเมตร

เหตุการณ์ในครั้งนั้น ยังความโทมนัสและเสียพระราชหฤทัยแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณา เห็นว่าการว่าจ้างชาวต่างประเทศเป็นผู้บังคับการเรือ และป้อมนั้นไม่เป็นหลักประกันพอที่จะรักษาประเทศได้ สมควรที่จะต้องบำรุงกำลังทหารเรือไว้ป้องกันภัยด้านทะเล และต้องใช้คนไทยทำหน้าที่แทน ชาวต่างประเทศทั้งหมด และการที่จะให้คนไทยทำหน้าที่แทนชาวต่างประเทศได้นั้นต้องมีการศึกษาฝึกหัดเป็นอย่างดีจึงจะใช้การได้ จึงทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ออกไปศึกษาวิชาการทั้งในด้านการปกครอง การทหารบก การทหารเรือ และอื่น ๆ ในทวีปยุโรป รวมทั้งได้ทำการฝึกนายทหารเรือไทย เพื่อปฏิบัติงานแทนชาวต่างประเทศตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทำให้กิจการทหารเรือมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศตราบจนปัจจุบัน

พิธีวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่2

     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางกระดูกงูเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 ณ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี      ทั้งนี้ โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เฉลิมพระเกียรติฯ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากำลังรบตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของกองทัพเรือในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษากฎหมายในทะเล และการปฏิบัติการรบผิวน้ำ รวมทั้งการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล และสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรืออื่น ๆ คุณลักษณะเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่ 2 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ความยาวตลอดลำ 90.50 เมตร กว้าง 13.50 เมตร กินน้ำลึก 3.70 เมตร ระวางขับน้ำเต็มที่ 1,969 ตัน ความเร็วสูงสุด

Read More »

เปลี่ยนโฉมเรือขนสินค้ารุ่นดึกเป็นเรือ “ซูเปอร์ยอช์ท” 62 ล้านดอลล์

     โลกกำลังจะได้รู้จักกับเรือยอช์ทสุดหรูตระการตาที่สร้างจากอดีตเรือขนส่งสินค้ายักษ์ขนาด 270 ฟุต ผลงานการดีไซน์ใหม่หรูหราทำให้เรือ Kilkea สามารถเป็นพาหนะที่เดินทางรอบโลกได้พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกนานหลายสัปดาห์ ขณะนี้เรือกำลังสร้างอยู่ที่อู่ต่อเรือในประเทศเวียดนาม ซึ่งบริษัทนอร์เวย์เป็นเจ้าของ      สุดยอดเรือยอช์ทลำใหม่ของโลกมูลค่า 62 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ  2.1 พันล้านบาทนี้ถูกตั้งชื่อว่าคิลเคีย (Kilkea) เป็นเรือสำราญที่สร้างจากการนำเรือขนส่งสินค้าเก่าแก่ซึ่งมีรูปแบบเรือเรียกว่า Vard 1/08 มาปรับเปลี่ยนโฉมใหม่ ด้วยความที่เรือลำนี้เคยถูกใช้ขนส่งสินค้าสู่แท่นเจาะน้ำมัน ทำให้เรือมีโครงสร้างห้องเก็บสินค้าขนาดใหญ่ และสามารถแล่นได้นานต่อเนื่องมากกว่า 30 วัน      เรือลำนี้มีห้องมากพอสำหรับผู้โดยสาร 36 คน ด้านหลังของเรือมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ โครงเหล็กตัวเรือมีความยาวมากกว่า 268 ฟุต สามารถแล่นได้ด้วยความเร็วสูงสุด 15.4 น็อต (knot)      ผู้รับหน้าที่ออกแบบปรับโฉมเรือหรูนี้คือบริษัท Bannenberg & Rowell Design ซึ่งใช้วิธีเพิ่มจำนวนชั้น ทำให้สามารถใส่สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งสระว่ายน้ำ รวมถึงสนามฟุตบอลได้อย่างยืดหยุ่น

Read More »

เปิดบริการ เส้นทางเดินเรือใหม่ “บางหว้า-ท่าช้าง” ฟรี 6 เดือน

     เพิ่มทางเลือกในการเดินทาง กทม. และกรมเจ้าท่า เปิดทดลองเส้นทางเดินเรือใหม่ จอดรับส่ง 5 ท่าเรือ ได้แก่ ท่าเรือบางหว้า ท่าเรือวัดอินทาราม ท่าเรือสะพานพุทธ ท่าเรือราชินี และท่าเรือท่าช้าง บริการฟรี 6 เดือน กรุงเทพมหานคร และกรมเจ้าท่า เปิดทดลองเดินเรือเส้นทางใหม่ ตั้งแต่ท่าเรือบางหว้า (คลองภาษีเจริญ) ถึงท่าเรือท่าช้าง (แม่น้ำเจ้าพระยา) โดยไม่เก็บค่าโดยสาร เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อเชื่อมโยงระบบการคมนาคมขนส่ง “ล้อ ราง เรือ” และเพิ่มทางเลือกในการเดินทางของประชาชนในจุดที่ไม่มีเอกชนให้บริการ โดยให้บริการรวม 4 เส้นทาง คือ ท่าเรือบางหว้า-ท่าช้าง ท่าเรือหัวลำโพง-วัดเทวราชกุญชร ท่าเรือวัดศรีบุญเรือง – ห้างสรรพสินค้า Paseo และ ท่าเรือบางหว้า – วัดกำแพง สำหรับเส้นทางใหม่ที่เปิดให้บริการวันนี้ เริ่มต้นจากท่าเรือบางหว้า

Read More »