กองทัพเรือจัดกิจกรรมวัน “อาภากร” น้อมรำลึก พระกรุณาคุณ องค์บิดาของทหารเรือไทย ในวาระ 99 ปี แห่งการสิ้นพระชนม์

กองทัพเรือจัดกิจกรรมวัน “อาภากร”

วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 พลเรือเอก  สมประสงค์  นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์บิดาของทหารเรือไทย เนื่องในวันอาภากร ณ พระอนุสาวรีย์ฯ หน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยมี นายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ ราชสกุลอาภากร สมาคมภริยาทหารเรือ ตลอดจนผู้แทนหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ร่วมพิธี

ด้วยพระกรณียกิจตลอดระยะเวลาที่ทรงรับราชการทหารเรือ ส่งผลให้กองทัพเรือ มีความเจริญก้าวหน้า สามารถทำหน้าที่รั้วของชาติทางทะเลได้อย่างเข้มแข็งสืบต่อมา ซึ่งนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง กองทัพเรือจึงได้ประกาศขนานพระนามเป็น “องค์บิดาของทหารเรือไทย” และได้กำหนดให้วันที่ 19 พฤษภาคมของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ เป็น “วันอาภากร” โดยกำหนดจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระกรุณาคุณ ของพระองค์ท่านเป็นประจำทุกปี ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ จัดขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระกรุณาคุณ ตลอดจนถวายเป็นพระกุศลแด่ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์บิดาของทหารเรือไทย ที่ทรงมีพระกรุณาคุณต่อกองทัพเรือเป็นอเนกอนันต์

กองทัพเรือจัดงานรำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ปีที่ 127

วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีสดุดีวีรชนในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ณ บริเวณลานหน้า พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ป้อมพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สำหรับ เหตุการณ์ ร.ศ.112 ตรงกับปีพุทธศักราช 2436 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในช่วงนั้นชาติตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลสำคัญทางแถบเอเชีย โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญ คือการแสวงหาอาณานิคม ประเทศต่าง ๆ เช่น ญวน เขมร ลาว ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนพม่าและมลายูตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ สำหรับประเทศไทย ได้ถูกชาติมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสเข้ามารุกราน โดยในวันที่ 13 กรกฎาคม พุทธศักราช 2436 เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ คือเรือสลุปแองคองสตังค์ และเรือปืนโคแมต ได้รุกล้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายังกรุงเทพฯ และได้เกิดการปะทะกับฝ่ายไทย ทั้งหมู่ปืนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า

Read More »

ศรชล.ภาค 3 เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ ORBITER 3B

ศูนย์อำนนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เเบบ Orbiter 3B เสริมประสิทธิภาพการทำงานตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU Fishing ในพื้นที่ทะเลอาณาเขตฝั่งอันดามัน ขีดความสามารถของ UAV เเบบ ORBITER 3B – มีระยะปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล– เวลาในการปฏิบัติการครั้งละ 4 ชั่วโมง– สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันเเละกลางคืน– มีความเเม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าผิวน้ำด้วยการค้นหาเป้าตามพิกัดที่กำหนด– สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น เครื่องหมายประจำเรือ หรือชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์เครื่องมือประมงบนเรือ ได้อย่างชัดเจน การเพิ่ม UAV เเบบ ORBITER 3B นี้จะทำให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Read More »

ผู้บัญชาการทหารเรือ มอบรางวัลเกียรติคุณ ให้แก่นักวิจัย ของกองทัพเรือ ประจำปี 2563

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานการมอบรางวัลในพิธียกย่องเกียรติคุณ นักวิจัยของกองทัพเรือ ประจำปี 2563 ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน สำหรับรางวัลเกียรติคุณมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจ รวมทั้งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ของกองทัพเรือ ผู้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและกองทัพ ทำให้หน่วยสามารถดำรงสภาพยุทโธปกรณ์และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วย และช่วยลดงบประมาณในการจัดหายุทโธปกรณ์ ทำให้กองทัพเรือสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งในพิธีได้จัดให้มีการมอบโล่ ใบประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัลให้กับนายทหารโครงการและหัวหน้านักประดิษฐ์ โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัล ดังนี้ 1.ผลงานการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร รางวัลดีเด่น ด้านยุทโธปกรณ์ จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ ผลงานโครงการวิจัยและพัฒนา ระบบแสดงแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Chart System) มี นาวาเอก ฤทธิ์เดช เกตุทอง เป็นนายทหารโครงการ 2. ผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ รางวัลชมเชย จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่ เครื่องทดสอบการกัดกร่อนร่วมกับความล้า

Read More »