Thailand Yacht Show 2022

Thailand Yacht Show 2022

Thailand Yacht Show ครั้งที่ 6 ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐให้มีการจัดงานขึ้น 2 ครั้งในปีนี้ โดยครั้งที่หนึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 – 12 มิถุนายน 2565 ณ โอเชี่ยน มาริน่า ยอร์ช คลับ พัทยา ท่าเรือยอช์ทที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย โดยได้รับเกียรติจาก มร. แอนดี้ เทรดเวลล์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวอร์เวนเทีย จำกัด ผู้จัดงาน พร้อมด้วย นายโมฮาเมด จินาห์ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐมัลดีฟส์ประจำประเทศไทย ดาโต๊ะ สตีฟ เชียร์ หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทยและเวียดนาม นางสาววิภารัตน์ ธาราธีรภาพ ผู้อำนวยการ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เรือตรีปราโมทย์ ทับทิม ปลัดเมืองพัทยาและรักษาการนายกเมืองพัทยา นายทรงวุฒิ อภิรักษ์ขิต ผู้อำนวยการ สำนักจัดการการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มร. ปิแอร์ จาฟรีย์ ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และนายไพรัช สุขงาม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานพัทยา (ชลบุรี) ร่วมพิธีเปิด ภายในงานสามารถสัมผัสโลกแห่งความหรูหราของเรือยอช์ทล่าสุดอย่างใกล้ชิดและเป็นส่วนตัว มีไฮไลท์มากมายรวมถึงเรือของ Simpson Marine ที่จะมาร่วมจัดแสดงถึง 10 ลำ และเรือยอช์ทจาก Asia Marine ตัวแทนจำหน่ายแบรนด์ดังของประเทศสวีเดนที่มาร่วมอวดโฉมเรือ Nimbus T11 อีกทั้ง V-Yachts Asia จะจัดแสดงเรือใหม่ล่าสุดอย่าง Ferretti

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทตัวแทนจำหน่ายเรือประเภทอื่น ๆ ที่ต่างพร้อมใจพากันร่วมงาน อาทิ Multihull Solutions, Max Marine Asia ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายเรือยอช์ทแบรนด์ Sunseeker และ IAqua Sea Dart พร้อมด้วย Motorium และ Princess Yachts ที่พร้อมโชว์เรือยอช์ท 4 ลำในงานครั้งนี้

งาน Thailand Yacht Show เป็นงานจัดแสดงเรือและเรือยอช์ทระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชีย และเป็นอีกหนึ่งงานกิจกรรมทางทะเลประจำปีที่จัดขึ้นต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา การจัดงานในครั้งนี้นำมาซึ่งความน่าตื่นตาตื่นใจมากกว่าครั้งไหนเนื่องจากข้อจำกัดในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงระยะเวลากว่า 2 ปี ทำให้มีความจำเป็นต้องงดการจัดงานในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา

การประชุมเอเปค 2022

การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก จัดขึ้นในประเทศไทย ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2565 และการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18–19 พฤศจิกายน 2565 มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 21 เขตเศรษฐกิจ แนวคิดหลักของการประชุมครั้งนี้คือ “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” ประเทศไทยได้นำเสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือบีซีจี เป็นหัวข้อหลักในการประชุมและจัดทำข้อเสนอไปยังผู้นำเขตเศรษฐกิจ ท่ามกลางการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค เริ่มด้วยการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ในวันที่ 14–16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 และการประชุมรัฐมนตรีเอเปคในวันที่ 17 พฤศจิกายน โดยมีหัวข้อสำคัญคือการผลักดันเขตการค้าเสรีเอเชีย–แปซิฟิก หรือ FTAAP และแนวคิดเศรษฐกิจบีซีจี ช่วงค่ำวันเดียวกัน รัฐบาลไทยได้จัดงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกรับเชิญพิเศษพร้อมคู่สมรส ที่หอประชุมกองทัพเรือ ในงานเลี้ยงรับรอง ได้มีการจัดอาหารค่ำในแนวคิด “ภูมิปัญญาอาหารไทยอย่างยั่งยืน” โดยใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงจากทั่วประเทศ

Read More »

กรมทะเล ร่วมงานฝึกปฏิบัติการ ศรชล. ปกป้องทะเลไทย

วันที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา กรมกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยสำนักงาน ทช.ที่2 (ชลบุรี) และกลุ่มประสานงาน ศรชล. เข้าร่วมชมการฝึกการต่อต้านการก่อการร้ายทางทะเล และการปราบปรามการลักลอบขนอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD)/สินค้าทางทะเลที่ผิดกฎหมายหรือสินค้าต้องห้ามตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ณ บริเวณพื้นที่ท่าเรือจุกเสม็ด จ.ชลบุรี โดยใช้กำลังหลักของ ศรชล.ภาค 1 ดำเนินการฝึก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ ประจำปี 2565 โดยมี พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะเลขาธิการ ศรชล. เป็นประธานตรวจเยี่ยมการฝึก พร้อมทั้งผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของหน่วยงานที่เข้าร่วมการฝึกครั้งนี้ โดยมีเรือประกอบด้วย เรือจากกองทัพเรือ (ร.ล.จักรีนฤเบศร,ร.ล.สิมิลัน, ร.ล.ตากใบ) กรมศุลกากร (เรือ ศก.609) กองบังคับการตำรวจน้ำ (เรือ 631)/เฮลิคอปเตอร์จากกองทัพเรือถึง 3 ลำ (S-70B Sea Hawk,Super Lynx 300

Read More »

ศรชล.ภาค 3 เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ ORBITER 3B

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ด้วยการ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เเบบ Orbiter 3B ที่มีสมรรถนะสูงในการตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU Fishing ในพื้นที่ทะเลอาณาเขตฝั่งอันดามัน ขีดความสามารถของ UAV เเบบ ORBITER 3B มีรัศมีปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล เวลาในการปฏิบัติการครั้งละ 4 ชั่วโมง สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันเเละกลางคืน มีความเเม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าผิวน้ำด้วยการค้นหาเป้าตามพิกัดที่กำหนด สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น เครื่องหมายประจำเรือ หรือชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์เครื่องมือประมงบนเรือ ได้อย่างชัดเจน การเพิ่ม UAV เเบบ ORBITER 3B นี้ จะทำให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีประสิทธิภาพมากและประสิทธิผลสูงยิ่งขึ้น

Read More »