กองทัพเรือจัดงานรำลึกวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ปีที่ 127

วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีสดุดีวีรชนในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ณ บริเวณลานหน้า พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ป้อมพระจุลจอมเกล้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

สำหรับ เหตุการณ์ ร.ศ.112 ตรงกับปีพุทธศักราช 2436 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในช่วงนั้นชาติตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลสำคัญทางแถบเอเชีย โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญ คือการแสวงหาอาณานิคม ประเทศต่าง ๆ เช่น ญวน เขมร ลาว ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนพม่าและมลายูตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ สำหรับประเทศไทย ได้ถูกชาติมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศสเข้ามารุกราน

โดยในวันที่ 13 กรกฎาคม พุทธศักราช 2436 เรือรบฝรั่งเศส 2 ลำ คือเรือสลุปแองคองสตังค์ และเรือปืนโคแมต ได้รุกล้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายังกรุงเทพฯ และได้เกิดการปะทะกับฝ่ายไทย ทั้งหมู่ปืนที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า และเรือรบไทยที่จอดอยู่เหนือป้อมพระจุลจอมเกล้า จำนวน 9 ลำ ผลปรากฏว่า เรือแองคองสตังต์ และเรือโคแมต ที่ได้รับความเสียหายบางส่วน สามารถตีฝ่าแนวป้องกันที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาได้จนถึงกรุงเทพฯ และเทียบท่าอยู่ที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศส โดยมีทหารประจำเรือเสียชีวิตรวม 3 นาย และเรือนำร่องถูกยิงเกยตื้นอยู่ริมฝั่ง ส่วนฝ่ายไทยเรือที่ได้รับความเสียหายจากกระสุนปืนใหญ่จากฝ่ายตรงข้าม จำนวน 4 ลำ

ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าวไทยกับฝรั่งเศสก็ได้ยุติการสู้รบกันเกี่ยวกับกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และเป็นเหตุให้ไทยเราต้องเสียดินแดนแก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก โดยที่ไม่มีทางจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการดำรงไว้ซึ่งเอกราช ประกอบด้วยดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อันได้แก่ ประเทศลาวปัจจุบัน ในพื้นที่เมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทน์ และอาณาเขตนครจำปาศักดิ์ตะวันออก ตลอดจนบรรดาเกาะแก่งต่าง ๆ ในแม่น้ำโขง คิดเป็นพื้นที่ 143,000 ตารางกิโลเมตร

เหตุการณ์ในครั้งนั้น ยังความโทมนัสและเสียพระราชหฤทัยแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณา เห็นว่าการว่าจ้างชาวต่างประเทศเป็นผู้บังคับการเรือ และป้อมนั้นไม่เป็นหลักประกันพอที่จะรักษาประเทศได้ สมควรที่จะต้องบำรุงกำลังทหารเรือไว้ป้องกันภัยด้านทะเล และต้องใช้คนไทยทำหน้าที่แทน ชาวต่างประเทศทั้งหมด และการที่จะให้คนไทยทำหน้าที่แทนชาวต่างประเทศได้นั้นต้องมีการศึกษาฝึกหัดเป็นอย่างดีจึงจะใช้การได้ จึงทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ออกไปศึกษาวิชาการทั้งในด้านการปกครอง การทหารบก การทหารเรือ และอื่น ๆ ในทวีปยุโรป รวมทั้งได้ทำการฝึกนายทหารเรือไทย เพื่อปฏิบัติงานแทนชาวต่างประเทศตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทำให้กิจการทหารเรือมีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศตราบจนปัจจุบัน

Port In – Port Out PIPO

มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO)

มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO)      พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า – ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO) ให้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ทั้ง 3 เขต รวมถึงหัวหน้าศูนย์ PIPO ในทุกพื้นที่ ณ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ภายในกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร      สำหรับนโยบายที่มอบให้แก่ศูนย์ PIPO ในครั้งนี้ ได้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ศูนย์ PIPO ที่ประกอบด้วยหน่วยงาน กรมประมง

Read More »

กรมทะเล ร่วมงานฝึกปฏิบัติการ ศรชล. ปกป้องทะเลไทย

วันที่ 2 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา กรมกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยสำนักงาน ทช.ที่2 (ชลบุรี) และกลุ่มประสานงาน ศรชล. เข้าร่วมชมการฝึกการต่อต้านการก่อการร้ายทางทะเล และการปราบปรามการลักลอบขนอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (WMD)/สินค้าทางทะเลที่ผิดกฎหมายหรือสินค้าต้องห้ามตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ณ บริเวณพื้นที่ท่าเรือจุกเสม็ด จ.ชลบุรี โดยใช้กำลังหลักของ ศรชล.ภาค 1 ดำเนินการฝึก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ ประจำปี 2565 โดยมี พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะเลขาธิการ ศรชล. เป็นประธานตรวจเยี่ยมการฝึก พร้อมทั้งผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของหน่วยงานที่เข้าร่วมการฝึกครั้งนี้ โดยมีเรือประกอบด้วย เรือจากกองทัพเรือ (ร.ล.จักรีนฤเบศร,ร.ล.สิมิลัน, ร.ล.ตากใบ) กรมศุลกากร (เรือ ศก.609) กองบังคับการตำรวจน้ำ (เรือ 631)/เฮลิคอปเตอร์จากกองทัพเรือถึง 3 ลำ (S-70B Sea Hawk,Super Lynx 300

Read More »

มอบเข็มรักษ์ทะเลยิ่งชีพ แก่ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือ

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยอธิบดีโสภณ ทองดี เป็นประธาน มอบเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศยิ่ง “รักษ์ทะเลยิ่งชีพ” ให้แก่นายหมวดโท วิทวัส ยอแสง ผู้ช่วยผู้ตรวจการประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้ที่ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมรับมอบเงิน 200,000 บาท สนับสนุนเข้ากองทุนสวัสดิการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง น้ำดื่ม 200 แพ็ค และเจลแอลกอฮอล์ 200 ขวด เพื่อนำไปใช้ในการสนับสนุนภารกิจ ณ ลานอเนกประสงค์ ชั้น 9 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

Read More »