มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO)

มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO)

     พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) มอบนโยบายในการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า – ออกเรือประมง (Port In – Port Out : PIPO) ให้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ทั้ง 3 เขต รวมถึงหัวหน้าศูนย์ PIPO ในทุกพื้นที่ ณ ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ภายในกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

     สำหรับนโยบายที่มอบให้แก่ศูนย์ PIPO ในครั้งนี้ ได้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ศูนย์ PIPO ที่ประกอบด้วยหน่วยงาน กรมประมง เจ้าท่า และแรงงาน มาทำงานร่วมกันอย่างบูรณการมากขึ้น รวมทั้งได้มีการปรับจำนวนศูนย์ให้เหมาะสมกับจำนวนเรือเข้า – ออกเพิ่มความรวดเร็วในการบริการจัดเจ้าหน้าที่ล่ามเพิ่มขึ้นและสัมภาษณ์แรงงานให้ไม่ถูกบังคับในการใช้แรงงาน ทั้งนี้การดำเนินการของ ศปมผ.ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและตั้งใจของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย เพื่อยกระดับให้การพัฒนากิจการประมงของไทยเกิดความยั่งยืน อันเป็นการสร้างกลไกในการตรวจสอบและการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานทางทะเล รวมถึงการกำกับดูแลด้านแรงงานในภาคประมงให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และหลักสิทธิมนุษยชน เป็นที่ยอมรับของสากล ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม

ผู้บัญชาการทหารเรือ มอบรางวัลเกียรติคุณ ให้แก่นักวิจัย ของกองทัพเรือ ประจำปี 2563

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานการมอบรางวัลในพิธียกย่องเกียรติคุณ นักวิจัยของกองทัพเรือ ประจำปี 2563 ณ กองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน สำหรับรางวัลเกียรติคุณมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและสร้างขวัญกำลังใจ รวมทั้งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ของกองทัพเรือ ผู้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและกองทัพ ทำให้หน่วยสามารถดำรงสภาพยุทโธปกรณ์และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วย และช่วยลดงบประมาณในการจัดหายุทโธปกรณ์ ทำให้กองทัพเรือสามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งในพิธีได้จัดให้มีการมอบโล่ ใบประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัลให้กับนายทหารโครงการและหัวหน้านักประดิษฐ์ โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัล ดังนี้ 1.ผลงานการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร รางวัลดีเด่น ด้านยุทโธปกรณ์ จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ ผลงานโครงการวิจัยและพัฒนา ระบบแสดงแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Chart System) มี นาวาเอก ฤทธิ์เดช เกตุทอง เป็นนายทหารโครงการ 2. ผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ รางวัลชมเชย จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่ เครื่องทดสอบการกัดกร่อนร่วมกับความล้า

Read More »

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และโรงเรียนสยามการเดินเรือ

วันที่ 10 มิถุนายน 2563 พลเรือโท ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นิรุทธ์ หงส์ประสิทธิ์ คณบดี คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย คุณณัฐพร มิ่งศิริธรรม ผู้บริหาร โรงเรียนสยามการเดินเรือ ได้ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อสร้างความร่วมมือในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชย์นาวีและโลจิสติกส์ที่มีคุณภาพสู่ตลาดแรงงานและสากล ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยมี นาวาเอก สมชาติ ไกรลาสสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ และ นาวาเอก สุรศักดิ์ ปานเกษม ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายฝึกอบรม โรงเรียนสยามการเดินเรือ เข้าร่วมเป็นสัขขีพยาน

Read More »

ศรชล.ภาค 3 เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ ORBITER 3B

ศูนย์อำนนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3 (ศรชล.ภาค 3) เสริมเขี้ยวเล็บใหม่ เพิ่มอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เเบบ Orbiter 3B เสริมประสิทธิภาพการทำงานตรวจค้นการทำประมงผิดกฏหมาย หรือ IUU Fishing ในพื้นที่ทะเลอาณาเขตฝั่งอันดามัน ขีดความสามารถของ UAV เเบบ ORBITER 3B – มีระยะปฏิบัติการประมาณ 50 ไมล์ทะเล– เวลาในการปฏิบัติการครั้งละ 4 ชั่วโมง– สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันเเละกลางคืน– มีความเเม่นยำในการระบุตำบลที่ของเป้าผิวน้ำด้วยการค้นหาเป้าตามพิกัดที่กำหนด– สามารถพิสูจน์ทราบเรือประมงด้วยการมองเห็น เครื่องหมายประจำเรือ หรือชื่อเรือ หรือลักษณะเรือ เช่น สีเก๋งเรือ อุปกรณ์เครื่องมือประมงบนเรือ ได้อย่างชัดเจน การเพิ่ม UAV เเบบ ORBITER 3B นี้จะทำให้การแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฏหมายในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Read More »